วว. คัดเลือก บริษัท ควอลิตี้พลัสฯ และอีก 23 ภาคีเครือข่ายเข้าร่วมผนึกกำลัง เปิดตัวโครงการ Thai Cosmetopiea นำขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สร้างสรรค์คุณค่าเครื่องสำอางตามเอกลักษณ์ท้องถิ่น กำเนิดธุรกิจคืนกำไรสู่สังคม
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้คัดเลือก บริษัท ควอลิตี้ พลัสฯ และอีก 23 ภาคี เป็นตัวแทนเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อนำร่อง10 โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวอัตลักษณ์เครื่องสำอาง (Innovative Identity Cosmetic) ประเทศไทยให้มีความโดดเด่น และแตกต่าง ด้วยการใช้ทรัพยากรฐานชีวภาพที่มีความเป็นเอกลักษณ์ในพื้นที่ 10 จังหวัด ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย และการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อมุ่งคืนกำไรสู่สังคมอย่างยั้งยืน ภายใต้ โครงการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสังคมไทย ด้วยการสร้างสรรค์คุณค่าเครื่องสำอางตามเอกลักษณ์ท้องถิ่น” หรือ “Thai Cosmetopiea”
โครงการ Thai Cosmetopoeia
สถานการณ์ตลาดเครื่องสำอางในประเทศไทยกับการดำเนินงานโครงการ Thai Cosmetopoeia
ตลาดเครื่องสำอางไทยในปัจจุบัน เป็นตลาดใหญ่ที่สุดในอาเซียน และเป็นอันดับที่ 3 ในเอเชีย รองจากญี่ปุ่นและเกาหลี และยังเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอีกอุตสาหกรรมหนึ่ง
ตามข้อมูลจาก Euromonitor,2562 คาดการณ์ว่าในปี 2562 ตลาดเครื่องสำอางในประเทศไทย จะเติบโตมากถึง 2.7 แสนล้านบาท จากปี 2560 ที่มีมูลค่า 2 แสนล้านบาท (Euromonitor,2562) ทั้งนี้ ประเทศไทยถือเป็นฮับในการผลิตเครื่องสำอางที่สำคัญในอาเซียน โดยมีปัจจัยการันตีคือ ความน่าเชื่อถือ กระบวนการผลิตที่ครบครันตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และส่วนผสมจากธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์ ทำให้เครื่องสำอางที่ผลิตในไทยได้รับความนิยมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น ตามยุทธศาสตร์การดำเนินงานของ วว. ในการวิจัยและพัฒนาเครื่องสำอาง ในปี 2020 นั้น จะนำร่องโครงการฯ ในชื่อ “โครงการพัฒนานวัตกรรมเครื่องสำอางจากทรัพยากรฐานชีวภาพเอกลักษณ์ภูมิภาคไทย” ภายใต้แนวคิด “มหัศจรรย์ความงามพฤกษาสู่ธารารัตน์” โดยทำการคัดเลือกพืชที่มีความเป็นเอกลักษณ์จากจังหวัดต่างๆ ของประเทศไทย จากภาคเหนือ กลาง และใต้ มาเป็นพืชหลักและนำเข้าสู่กระบวนการวิจัยพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีศักยภาพในเชิงการค้า ได้แก่
ขอบเขตความร่วมมือของควอลิตี้พลัส, วว และอีก 23 ภาคี
คือ บริษัท ควอลิตี้พลัสฯ และอีก 23 ภาคี เป็นตัวแทนในการเข้าร่วมดำเนินการศึกษาวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการปลูก สายพันธุ์ กระบวนการแปรรูป การสกัด การทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพและเภสัชวิทยา ของพืชเป้าหมาย เพื่อใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและเวชสำอาง รวมทั้งการทดสอบประสิทธิภาพและการประเมินความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว และร่วมกันสนับสนุน ผลักดัน ให้เกิดการนำผลงานวิจัยหรือผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยที่เกิดจากความร่วมมือนี้ไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โดยมีระยะเวลาโครงการ 5 ปี
สรุปโครงการ Thai Cosmetopoeia คือ
โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสังคมไทยด้วยการสร้างสรรค์คุณค่าเครื่องสำอางตามเอกลักษณ์ท้องถิ่น (Thai Cosmetopoeia) โดยมีแนวคิดนำเอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์ของฐานชีวภาพในพื้นที่ประเทศไทยมาพัฒนา ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ผ่านการนำเสนอในรูปแบบเครื่องสำอาง เพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของพื้นที่และส่งเสริมอัตลักษณ์ในระดับชาติและนานาชาติ สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยด้านอุตสาหกรรมเครื่องสำอางเชื่อมโยงสู่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและก่อให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรรวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้ยั่งยืน
โดยการดำเนินงานโครงการนั้น วว. ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายนำร่อง 24 หน่วยงาน ในภาคพื้นที่ระดับจังหวัด ภาคธุรกิจในพื้นที่ ภาคธุรกิจรายใหญ่ ภาคงานวิจัยและพัฒนา สถานที่ผลิตมาตรฐาน GMP ภาคการเงินทุน ภาคการตลาด ภาคสื่อประชาสัมพันธ์
โดยภาคีเครือข่ายนำร่อง 24 หน่วยงาน ที่ผนึกกำลังร่วมดำเนินงานกับ วว. ครั้งนี้ ได้แก่
โดยโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสังคมไทยด้วยการสร้างสรรค์คุณค่าเครื่องสำอางตามเอกลักษณ์ท้องถิ่น (Thai Cosmetopoeia) มีความสอดคล้องยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายรัฐบาลในการสนับสนุน ส่งเสริม และเสริมสร้างความเข้มแข็งของ ด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอาง และผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากทรัพยากรธรรมชาติของไทย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนและสร้างความยั่งยืนให้กับทรัพยากรของท้องถิ่น
สำหรับผู้ประกอบการ หรือผู้ที่มีความสนใจด้านงานวิจัยสารสกัดจากพืชสมุนไพร และต้องการทำงานวิจัย หรือใช้สารสกัดจากงานวิจัย เพื่อสร้างมูลค่า และมาตรฐานให้กับสินค้า และธุรกิจของคุณ บริษัท ควอลิตี้พลัสฯ เรายินดีให้คำปรึกษา และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในทำงานวิจัย