ในปัจจุบัน ผู้ประกอบการในกลุ่ม SMEs และกลุ่ม Start Up ที่ต้องการลงมือทำธุรกิจ หรือสร้างแบรนด์คงคุ้นหูกับคำว่า “การทำธุรกิจเชิงนวัตกรรม” และ “การสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน” เพราะเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวข้ามจากประเทศกำลังพัฒนาเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและความงามมีอัตราการเติบโตสูงมากคือ ในปี 2560 มีอัตราการเติบโตถึง 7.8% คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 1.68 แสนล้านบาท โดยตลาดรวมแบ่งเป็น กลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลผิว (skincare) สัดส่วน 47% ผลิตภัณฑ์ผม (hair care) สัดส่วน 18% เครื่องสำอาง (cosmetics) สัดส่วน 14% ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำความสะอาดร่างกาย (hygiene) สัดส่วน 16% และน้ำหอม (fragrance) สัดส่วน 5% และยังมีแนวโน้มการเจริญเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ที่มา : Euromonitor)
ซึ่งจากการเติบโตในอดีตจนถึงปัจจุบันจะเห็นได้ว่าธุรกิจกลุ่มเครื่องสำอางและความงามนั้นได้เกิดการฟาดฟันกันอย่างต่อเนื่องเพื่อแย่งชิงพื้นที่ส่วนแบ่งทางการตลาด จะเห็นได้ว่ายิ่งพื้นที่ทางการตลาดใหญ่ขึ้น ส่วนแบ่งทางการตลาดก็ยิ่งมากขึ้นเช่นกัน และแบรนด์ที่จะอยู่รอดได้ก็คือ “แบรนด์ที่มีนวัตกรรม” เพราะเป็นแบรนด์ที่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้มากที่สุดจึงเป็นผู้ที่อยู่รอดได้ในตลาด
ฉะนั้นในปัจจุบันการที่แบรนด์ส่วนใหญ่หันมาเล่นในเรื่องของนวัตกรรมกันเพิ่มมากขึ้น โดยใช้นวัตกรรมที่สามารถเข้ากันได้กับตัวสินค้าและบริการ รวมถึงนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กับกลุ่มผู้บริโภค และนวัตกรรมด้านงานวิจัยสารสกัดก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจต่อการนำมาพัฒนาต่อยอดในทำแบรนด์ ที่เป็นการโอกาสและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับแบรนด์ได้อย่างยั่งยืน