การตั้งสโลแกนให้กับสินค้าหรือแบรนด์ ถือเป็นปัจจัยอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะทำให้สินค้าหรือแบรนด์มีประโยคที่ติดหูผู้บริโภค รวมถึงเพิ่มโอกาสของแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งมีหลายๆแบรนด์สามารถทำให้ผู้คนจดจำสโกแลนของเขา แล้วนึกถึงสินค้าหรือบริการของเขาได้ แต่เคยไหมที่คิดเท่าไหร่ ก็คิดไม่ออก ว่าเราควรตั้งสโลแกนอย่างไรดี หลักการพื้นฐานทั่วไป 5 ข้อที่จะทำให้คุณคิดสโลแกนได้ง่ายๆ และฟังติดหู
สารบัญ
1. ประโยคที่น่าดึงดูด
ประโยคที่ใช้จะต้องโดดเด่นและมีพลังในตัวเอง อาจจะยากซักหน่อยสำหรับผู้เริ่มต้นติดสโลแกน ลองหาสินค้ามาดูเป็นแนวทางก็ไม่เลวเหมือนกัน เพราะสโลแกนจะช่วยสะกิดต่อมความคิดของผู้บริโภคออกมาให้เข้ามาสนใจและจดจำได้ในทันที เช่น “ Think Different “ สโลแกนของ Apple
2. มีใจความครบถ้วน
สโลแกนจะทำหน้าที่สื่อสารความหมายออกมาได้อย่างตรงตัว และบอกที่มาที่ไปได้อย่างครบถ้วน เมื่อลูกค้าเข้ามาอ่านตัวสโลแกนแล้วต้องเห็นภาพทั้งหมดของตัวสินค้าได้ในทันที เช่น “Think of Food, Think of Foodland”
3. สั้นและกระชับ
ไม่มีใครอยากอ่านอะไรยาวเป็นหน้ากระดาษ และไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถรับสารที่มีความยาวมาก ๆ ภายในระยะเวลาที่จำกัด เป็นอย่างนี้แล้วสโลกนจะต้องเป็นอะไรที่สั้น กระชับ และได้ใจความ ยาวน้อยกว่า 12 ตัวอักษรได้ยิ่งดี เพราะนี่เป็นจำนวนที่ลูกค้าจะรับได้มากที่สุดแล้ว เช่น Save Money, Live Better เป็นต้น จะสังเกตเห็นได้เลยว่าไม่มีสโลแกนไหนที่มาข้อความยาว ๆ โผล่มาให้อ่านกัน เพราะเรามีเวลาเพียงไม่กี่วินาทีในการดึงดูดความสนใจของลูกค้า ถ้าเสียโอกาสนั้นแล้วก็จบกัน ข้อความทั้งหมดจึงออกมาแบบสั้นและกระชับ
4. ความหมายและความรู้สึก
แม้สโลแกนจะต้องออกมาให้รูปของตัวอักษร แต่ความรู้สึกของลูกค้าจะต้องไม่ใช่แค่ตัวอักษร สโลแกนจะต้องบอกเล่าเรื่องราว และความมุ่งมั่นในการขายของพ่อค้าแม่ค้าได้ ยิ่งเว่อร์เท่าไหร่ก็ยิ่งดี แต่ก็ต้องอยู่ในระดับที่เหมาะสมด้วย ไม่ใช่จะเว่อร์วังอลังการอย่างเดียวก็ไม่ถูก เช่น Airbnb’s “Belong Anywhere”
5. ไม่ใช้ภาษาวิบัติ
แม้สโลแกนจะต้องการความโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์มากมาย แต่อย่าคิดขัดขืนด้วยการคิดคำศัพท์ใหม่ขึ้นมาโดยเด็ดขาด เนื่องจากคนรับสารมีมากมายหลากหลาย พ่อค้าแม่ค้าไม่มีทางรู้ได้เลยว่าใครจะเข้ามาอ่านสโลแกนอันนี้ สิ่งที่ทำได้และมั่นใจมากที่สุดคือการทำสโลแกนเข้ากับทุกคนได้ แต่ละคนมีทักษะในการสื่อสารภาษาที่แตกต่างกัน ปัญหาอาจจะเกิดขึ้นได้หากมีการตีตวามที่ผิดพลาด หรือแม้แต่ความคาดเคลื่อนไปจากสิ่งที่พ่อค้าแม่ค้าอยากจะนำเสนอก็ได้