เทรนด์ตลาดล่าสุด

การทำโครงสร้างราคาต้นทุนการผลิตสินค้า OEM

หัวข้อ การทำโครงสร้างราคาต้นทุน

การคำนวณต้นทุนเป็นส่วนหนึ่งของระบบบัญชีและการเงินของกิจการ เป็นการบันทึกการวัดผลและรายงานข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนของสินค้า OEM ของกิจการ โดยทั่วไปการคำนวณต้นทุนจะใช้เวลาและลงรายละเอียดมากในกิจการที่ผลิตสินค้า OEM แต่ไม่ได้หมายความว่ากิจการประเภทอื่นเช่นกิจการขายส่ง ขายปลีก ร้านอาหารหรือบริการต่างๆไม่มีความสำคัญในการที่ต้องคำนวณต้นทุนเลย การคำนวณต้นทุนสามารถนำไปใช้ได้ในทุกกิจการเพราะมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการธุรกิจดังนี้

  1. เพื่อให้ทราบถึงต้นทุนการผลิตและต้นทุนขายของธุรกิจ OEM
  2. เพื่อสามารถนำต้นทุนทั้งหมดของกิจการมาเปรียบเทียบกับรายได้จากการขายเพื่อจะได้ทราบว่ามีกำไรหรือขาดทุนในการขายสินค้า
  3. เพื่อคำนวณหรือตีราคาสินค้าคงเหลือที่ขายได้ไม่หมดว่ามีมูลค่าเท่าไหร่
  4. เพื่อใช้ในการวางแผนและควบคุมการซื้อสินค้าและจัดทำงบประมาณในการซื้อสินค้า รวมทั้งต่อรองราคากับผู้ขายวัตถุดิบ
  5. เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าสินค้าใดควรไปต่อสินค้าใดควรหยุด (ในกรณีที่ผู้ผลิตมีสินค้าหลายชนิด)

ต้นทุนแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ

  1. ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คือต้นทุนที่ผันแปรตามจำนวนหน่วยที่ผลิตหรือขาย ต้นทุนผันแปรในธุรกิจเครื่องสำอางก็คือ
    1.1 ค่าเนื้อครีม (Bulk)
    1.2 ค่าบรรจุภัณฑ์ขวด ค่ากระปุก อื่นๆ (Inner Packaging)
    1.3 ค่ากล่อง (Outer Packaging)
    1.4 ค่าบรรจุ (Packing)
    1.5 และอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้าประเภทหรือรูปแบบนั้นๆ เป็นต้น
  2. ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) คือต้นทุนที่เกิดขึ้นไม่ว่ากิจการจะได้ขายสินค้าหรือไม่ ต้นทุนนี้จะไม่เปลี่ยนแปลงตามจำนวนหน่วยที่ผลิตหรือขาย สำหรับต้นทุนคงที่ในธุรกิจเครื่องสำอางก็คือ
    2.1 ค่าจดแจ้งผู้จัดจำหน่าย (Distributor Registration)
    2.2 ค่าจดแจ้งอย. (FDA Registration)
    2.3 ค่าพัฒนาสูตร (Development Formulation)
    2.4 และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

วิธีการคำนวณหาต้นทุนการผลิต OEM แบบง่ายมีสูตรดังต่อไปนี้

ต้นทุนการผลิต = ต้นทุนวัตถุดิบ + ค่าแรงงาน + ค่าใช้จ่ายในการผลิต

จำนวนสินค้าที่ผลิตในงวดนั้น

= ต้นทุนต่อหน่วย (ชิ้นหรือกล่อง)

หลังจากที่เราได้ต้นทุนการผลิตมาแล้ว เราก็จะสามารถกำหนดราคาขายที่เหมาะสมกับการประกอบการเพื่อให้ได้กำไรที่เหมาะสมได้ การคิดต้นทุนการผลิตจะช่วยให้เราวางแผนสำหรับการทำกิจกรรมอื่นๆเพื่อประกอบการขายได้ง่ายขึ้น อย่างเช่น วางแผนการทำการตลาด, การจ่ายค่าคอมมิชชั่น, การทำโครงสร้างราคาขาย หรือ การวางแผนจำนวนการผลิต เป็นต้น